สาขาสัตวศาสตร์ และธุรกิจปศุสัตว์ (ปรับปรุง 2564)
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการทำงาน (WIL) และการจัดการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE)

     วันที่ 9- 11 พฤศจิกายน 2563  อาจารย์สุวรรณา ทองดอนคำ ประธานหลักสูตรสัตวศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารุณี  หนูละออง อาจารย์ประจำหลักสูตร อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการทำงาน (WIL) และการจัดการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) โดยมี การแบ่ง WIL 9 ประเภท 
1. Pre-course experience
    การจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สภาพการทางานของอาชีพ ที่สนใจก่อนการตัดสินใจเลือกสาขาวิชา หรือก่อนการศึกษาในสาขาเหล่านั้น
2. Sandwich course
    ระบบการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสลับการเรียนวิชาการในสถานศึกษา กับการทางานตามสาขาวิชาชีพในสถานประกอบการ ที่มีการเชื่อมโยงความรู้กับการทางานด้วย  การจัดรายวิชาที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กับตำแหน่งงาน อาจเป็น Thin sandwich หรือ Thick sandwich
3. Cooperative education (สหกิจศึกษา)
    เป็นระบบการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานในสถานประกอบการอย่างมีระบบ โดยจัดให้มีการเรียนในสถานศึกษาร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถาน  ประกอบการ งานที่ปฏิบัติจะตรงกับสาขาวิชาของนักศึกษา โดยเน้นที่ Work base learningหรือโครงงานพิเศษ
4. Joint industry university 
    การร่วมผลิตบัณฑิต ระหว่างสถาบันการศึกษาและองค์กรผู้ใช้บัณฑิต ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้มีคุณภาพอย่างมืออาชีพและตรงตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต โดยเห็นชอบร่วมกันผ่าน MOU/MOA
5. Fieldwork
    เป็นการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงของนักศึกษา โดยการนาความรู้ที่มีในระดับหนึ่งไปใช้ในการปฏิบัติงานในสายอาชีพนั้น ๆ ภายใต้บริบทของสถานการณ์จริงภายนอกห้องเรียนและมีการดูแลจากสถานประกอบการอาจารย์
6. Job shadowing
การเรียนรู้ประสบการณ์การทางาน ผ่านกระบวนการสังเกตพฤติกรรมการทางานของบุคคลต้นแบบ การพูดคุย และสามารถลงมือปฏิบัติตามได้ ภายใต้สถานการณ์จริง ที่บุคคลต้นแบบเป็นผู้ดูแล
7. Practicum (การฝึกงาน)
    การปฏิบัติงานเฉพาะตำแหน่งในสายงานที่เกี่ยวข้อง การฝึกปฏิบัติโดยนาทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการฝึกเรียนรู้วิธี การทางานของพนักงานมืออาชีพ โดยได้รับคาแนะนาภายใต้บริบทการทางานในสภาพจริง จัดทำเอกสารอย่างมืออาชีพ
8. New traineeship
    เป็นการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพ โดยนาความรู้ภาคทฤษฎีที่ได้ศึกษาตลอดหลักสูตร มาประยุกต์เชื่อมโยงกับการทางานจริงในสถานประกอบการ เน้นที่การปฏิบัติงานพื้นฐาน (Basic function) โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2เดือน
9. Post-course internship
   เป็นการปฏิบัติงานที่ตรงกับสาขาวิชาชีพ โดยนาความรู้ภาคทฤษฎีที่ได้ศึกษาตลอดทั้งหลักสูตร มาประยุกต์เชื่อมโยง กับการทางานจริงในสถานประกอบการ เน้นการปฏิบัติที่เป็น Project base/Problem base ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 4 เดือน
 ณ โรงแรมคริสตัล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

แกลเลอรี่