หลักสูตรชีววิทยาประยุกต์
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

ปีการศึกษา 2562

ผลการดำเนินงาน

จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต หลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีการศึกษา 2561  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ศึกษาปัญหา การทำงาน คุณลักษณะบางประการที่เอื้อต่อการได้งานของบัณฑิต ความสอดคล้องของคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อได้ข้อมูลใช้ประกอบการพัฒนาการผลิตบัณฑิต บัณฑิตหลักสูตรชีววิทยา ปีการศึกษา 2561  พบว่า มีผู้สำเร็จการศึกษา ทั้งสิ้น 41 คน และเมื่อนำเข้าระบบภาวะการมีงานทำ ผ่านเว็บไซต์ http://www.job.mua.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และเอกสารโดยได้ข้อมูลการตอบแบบสอบถาม ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2563 จำนวน 18  คน คิดเป็นร้อยละ 52.94

จากผลการวิเคราะห์ของระบบภาวะการมีงานทำพบว่า มีบัณฑิตที่ทำงานแล้ว 18 คน  คิดเป็นร้อยละ  52.94  และที่ยังไม่ได้ทำงานและมิได้ศึกษาต่อมีจำนวน  15  คน คิดเป็นร้อยละ  44.11  ของผู้ตอบแบบสอบถามในระบบรายงานภาวะการมีงานทำ และเมื่อพิจารณาจากการจำแนกตามประเภทงานที่ทำพบว่า เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐร้อยละ 15.78 (3 คน) พนักงานบริษัทหรือองค์กรธุรกิจร้อยละ 31.57 (6 คน)  และไม่ระบุจำนวน  9 คน (52.63) เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาในการหางานทำพบว่า หางานทำได้ก่อนจบการศึกษา จำนวน 1 คน  (ร้อยละ 5.26) ภายในระยะเวลา 1-3 เดือน จำนวน 8 คน (ร้อยละ 42.10) ภายในระยะเวลา 4-6 เดือนจำนวน 6 คน (ร้อยละ 31.57)  ภายในระยะเวลา 7-9 เดือน จำนวน 4 คน (ร้อยละ 21.05) บัณฑิตส่วนใหญ่สามารถนำความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับหน้าที่การงานที่ทำอยู่ในระดับปานกลาง และนอกเหนือจากนั้นแล้วการที่บัณฑิตได้งานทำยังใช้ความสามารถพิเศษอื่นประกอบจึงทำให้ได้งานทำได้แก่ ด้านภาษาต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 10.52 (2 คน) การใช้คอมพิวเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 42.10 (8 คน) ด้านกิจกรรมสันทนาการ คิดเป็นร้อยละ 26.31 (5 คน)  และด้านศิลปะ คิดเป็นร้อยละ 16.67 (3 คน)  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายชื่อวิชาที่ควรเพิ่มในหลักสูตร คือด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน การใช้คอมพิวเตอร์ การวิจัยและการฝึกปฏิบัติการ  เป็นต้น

การวิเคราะห์ผลที่ได้

ตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำของบัณฑิตที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี 3 ปีย้อนหลัง และสามารถสรุปเป็นตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำดังนี้

 

ข้อมูลพื้นฐาน

ร้อยละ

 

ปี 2557

(n=31)

ปี 2558

(n=34)

ปี 2559

(n=33)

ปี 2560

(n=62)

ปี 2561

(n=38)

จำนวนบัณฑิตทั้งหมด

31

34

33

62

38

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ตอบแบบสำรวจเรื่องการมีงานทำภายใน 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษา

93.55

79.41

78.78

75.80

89.47

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษา (ไม่นับรวมผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ)

70

10.00

12.12

29.03

52.94

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ประกอบอาชีพอิสระ

6.25

60.00

18.18

6.45

-

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา

-

 

(30.00)

-

-

-

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

-

-

-

3.22

-

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่อุปสมบท

-

-

-

-

-

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่เกณฑ์ทหาร

-

-

-

-

-

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว

-

-

-

-

-

หมายเหตุ n= จำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา