หลักสูตรชีววิทยาประยุกต์
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

การผลิตน้ำหมักเพื่อใช้ในครัวเรือน

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

1. ชื่อโครงการ การผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน

2. หน่วยงานรับผิดชอบ หลักสูตรชีววิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์

3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

          3.1 คณะทำงานภายในมหาวิทยาลัย

                   3.1.1 ดร.ศศิธร พังสุบรรณ

                   3.1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพัฒน์ ถาวโรฤทธิ์

                   3.1.3 ดร.วารุณี  หะยีมะสาและ

                   3.1.4 นางฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย

                   3.1.5 นางสาวสายใจ แก้วอ่อน

                   3.1.6 นางสาวอลภา ทองไชย

                   3.1.7 นางสาวลักขณา รักขพันธ์

4. วัตถุประสงค์

          1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องน้ำหมักชีวภาพ

          2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถผลิตน้ำหมักชีวภาพได้

          3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำน้ำหมักชีวภาพไปใช้ทดแทนปุ๋ยสังเคราะห์ในการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวได้

5. หลักสูตรบูรณาการโครงการบริการวิชาการ ซึ่งบูรณาการดังต่อไปนี้

          5.1 บูรณาการกับการเรียนการสอน รายวิชาต่อไปนี้

        4103114 ชีววิทยาทั่วไป

                    4103217 จุลชีววิทยา

                    4103219 ชีววิทยาของพืช

                    4103336 พรรณพืชท้องถิ่น

          5.2 บูรณาการกับการวิจัยต่อไปนี้

                   - เรื่อง การใช้น้ำหมักชีวภาพจากพืชสมุนไพรกับแผ่นยางพาราผึ่งแห้ง เพื่อเก็บรักษาป้องกันการเจริญของเชื้อรา ผู้วิจัย วิพัฒน์ ถาวโรฤทธิ์

6. วันที่จัดกิจกรรมโครงการ 16 และ 23 กรกฎาคม 2557

7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          (√ ) ตรงตามแผนบริการวิชาการ             ( ) ไม่ตรงตามแผนบริการวิชาการ

8. สถานที่ดำเนินโครงการ

          โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดยะลา

9. งบประมาณ ได้รับจัดสรร 40,000 บาท

10. กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 30 คน ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย

ค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (คน)

ค่าเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (คน)

นักเรียน

30

35

รวม

 

35

11. ผลที่ได้รับตามเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ/ ค่าเป้าหมาย

ค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

ค่าเป้าหมายที่ได้รับ

ระดับความสำเร็จ

มากกว่าร้อยละ 80=ดีมาก/ร้อยละ 70-79=ดี

ร้อยละ 60-69= ปานกลาง/ ต่ำกว่าร้อยละ 60= ปรับปรุง

หมายเหตุ

เป้าหมายเชิงปริมาณ

1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

30 คน

35 คน

ดีมาก

0utput

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. ความรู้ที่เพิ่มขึ้นจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ร้อยละ 100

ดีมาก

0utput

ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

ไม่น้อยกว่า 3.50หรือร้อยละ 80

ระดับความพึงพอใจ 4.08

ดีมาก

0utput

อภิปรายผล

          การดำเนินการโครงการบริการวิชาการ การผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในครัวเรือน ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นนักเรียนโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดยะลา จำนวน 35 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 30 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้การที่โครงการได้รับความสนใจเป็นอย่างดีนั้น นับเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน เนื่องจากผู้บริหารเล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียน เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างเป็นกระบวนการด้านรูปแบบ วิธีการที่หลากหลาย ในการพัฒนาผู้เรียนด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม มุ่งส่งเสริมเจตคติคุณค่าชีวิต ปลูกฝังคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง ปลูกจิตสำนึกในธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ปรับตัวและปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม ประเทศชาติ และดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาความสามารถตนเองตามศักยภาพ โดยมุ่งเน้นจัดเพิ่มเติมจากกิจกรรมที่ได้จัดให้เรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่ม และให้นักเรียนเข้าร่วมและปฏิบัติกิจกรรมที่เหมาะสมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขกับกิจกรรมที่เลือกด้วยตนเองตามความถนัด และความสนใจอย่างแท้จริง การพัฒนา ที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ให้ครบทุกด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคมซึ่งอาจจะเป็นแนวทางหนึ่งที่สนองนโยบายในการสร้างเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีศีลธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย และมีคุณภาพเพื่อพัฒนาองค์รวมของความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคม ซึ่งการผลิตน้ำหมักชีวภาพนั้น กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต อีกทั้งผู้เรียนได้ค้นพบและใช้ศักยภาพที่มีในตนอย่างเต็มที่ เลือก ตัดสินใจ ได้อย่างมีเหตุผลเหมาะสมกับตนเอง สามารถวางแผนชีวิตและอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ

ปัญหาและอุปสรรค

          1. การอนุมัติการใช้งบประมาณค่าวัสดุ และค่าใช้สอยต่างๆ บางครั้งเกิดการล่าช้า

ข้อเสนอแนะจากการดำเนินโครงการบริการวิชาการ

          อยากให้มีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ในครั้งต่อไปเนื่องจากเป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และควรเพิ่มกิจกรรม รวมทั้งระยะเวลาในการอบรม