หลักสูตรชีววิทยาประยุกต์
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

การผลิตสื่อการเรียนการสอนทางชีววิทยา

สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

1. ชื่อโครงการ การผลิตสื่อการเรียนการสอนทางชีววิทยา

2. หน่วยงานรับผิดชอบ หลักสูตรชีววิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์

3. ผู้รับผิดชอบโครงการ

          3.1 คณะทำงานภายในมหาวิทยาลัย

                   3.1.1 ดร.ศศิธร พังสุบรรณ

                   3.1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิพัฒน์ ถาวโรฤทธิ์

                   3.1.3 นางฉันทนา รุ่งพิทักษ์ไชย

                   3.1.4 นางสาวสายใจ แก้วอ่อน

                   3.1.5 นางสาวอลภา ทองไชย

                   3.1.6 นางสาวลักขณา รักขพันธ์

4. วัตถุประสงค์

          ให้ผู้เข้าอบรมมีความสามารถในการทำกล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย การเตรียมสีย้อมเซลล์จากดอกอัญชัน สไลด์ถาวรตัวอย่างพืชและสัตว์ เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน

5. หลักสูตรบูรณาการโครงการบริการวิชาการ ซึ่งบูรณาการกับรายวิชาต่อไปนี้

          4103102 ปฏิบัติการหลักชีววิทยา

          4103338 เทคนิคการเก็บรักษาตัวอย่างพืชและสัตว์เบื้องต้น

          4103340 การเตรียมตัวอย่างทางชีววิทยา

          4103336 พรรณพืชท้องถิ่น

6. วันที่จัดกิจกรรมโครงการ 6-7 กรกฎาคม 2556

7. ระยะเวลาดำเนินโครงการ

          (√ ) ตรงตามแผนบริการวิชาการ             ( ) ไม่ตรงตามแผนบริการวิชาการ

8. สถานที่ดำเนินโครงการ

          05-306 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

9. งบประมาณ ได้รับจัดสรร 54,750 บาท

10. กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 40 คน ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย

ค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (คน)

ค่าเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ (คน)

บุคลาการทางการศึกษา

30

31

ผู้สนใจทั่วไป

10

-

รวม

 

31

11. ผลที่ได้รับตามเป้าหมายตัวชี้วัดความสำเร็จ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ/ค่าเป้าหมาย

ค่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

ค่าเป้าหมายที่ได้รับ

ระดับความสำเร็จ

มากกว่าร้อยละ 80=ดีมาก/ร้อยละ 70-79=ดี

ร้อยละ 60-69= ปานกลาง/ ต่ำกว่าร้อยละ 60= ปรับปรุง

หมายเหตุ

เป้าหมายเชิงปริมาณ

1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ร้อยละ 77.50

ดี

0utput

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

1. ความรู้ที่เพิ่มขึ้นจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

ร้อยละ 100

ดีมาก

0utput

ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ

ไม่น้อยกว่า 3.50หรือร้อยละ 80

ระดับความพึงพอใจ 4.30

ดีมาก

0utput

 

อภิปรายผล

          การดำเนินการโครงการบริการวิชาการ การผลิตสื่อการเรียนการสอนทางชีววิทยา ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จำนวน 31 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 40 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.50 ทั้งนี้การที่โครงการได้รับความสนใจเข้าร่วมเป็นอย่างดีนั้น นับเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเองของครู เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้อบรมเชิงปฏิบัติการไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนซึ่ง แนวการสอนที่เชื่อว่าผู้เรียนจะเรียนรู้ได้สูงสุดหากมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระตือรือร้น ดังนั้น ควรจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนที่ผู้เรียนคุ้นเคย ผู้สอนควรให้ความสำคัญกับความสนใจ ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ควรส่งเสริมให้ผู้เรียนให้รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ ผลิตผู้เรียนที่สามารถนำตนเอง มีอิสระทางความคิดและการแสดงออก และมีความคิดสร้างสรรค์ แนวการสอนเช่นนี้สอดคล้องกับแนวคิดของกลุ่ม constructivism ที่เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิบัติ เกิดเฉพาะตัวบุคคล (ฆนัท ธาตุทอง, 2552)

          สื่อการสอนนับเป็นสิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้ ทั้งนี้การจัดให้มีสื่อการเรียนการสอนนั้นมีเงื่อนไขหลายประการด้วยกัน กล่าวคือ เงื่อนไขจากสถานศึกษา เช่น ขนาดของสถานศึกษา งบประมาณ ความพร้อมและความสะดวก การบริหารงานที่ให้ความสำคัญสนับสนุน เงื่อนไขจากตัวผู้สอน และเงื่อนไขกิจกรรมการเรียนการสอน (ชวลิต, มปป.) ทั้งนี้การเลือกสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมนั้นมีความสำคัญมาก หลักการสำคัญคือต้องเลือกสื่อประเภทที่ให้ทั้งสาระและกระบวนการคิดแก่ผู้เรียนและต้องเป็นสื่อที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ชาตรี, มปป.) ซึ่งการเรียนการสอนทางชีววิทยานั้นมีสื่อการเรียนการสอนหลายประเภท เช่น สไลด์ถาวร  กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งสื่อบางประเภทมีราคาแพงดังนั้นผู้สอนจึงต้องมีวิธีในการแก้ปัญหาดังกล่าว

ปัญหาและอุปสรรค

     1. การประชาสัมพันธ์ค่อนข้างจำกัด ทำให้ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมอบรมได้รับข้อมูลข่าวสารล่าช้า

     2. การอนุมัติการใช้งบประมาณค่าวัสดุ และค่าใช้สอยต่างๆ บางครั้งเกิดการล่าช้า

ข้อเสนอแนะจากการดำเนินโครงการบริการวิชาการ

     อยากให้มีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ในครั้งต่อไปเนื่องจากเป็นประโยชน์แก่ผู้เข้าสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน และควรเพิ่มกิจกรรม รวมทั้งระยะเวลาในการอบรม