หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (ค.บ.)
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ม.ราชภัฎยะลาสร้างแรงบันดาลใจ หนุนเยาวชนชายแดนใต้เรียนวิทย์-ผลิตหุ่นยนต์

          ดร.มูนีเร๊าะ ผดุง ประธานหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ร่วมกับสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เห็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมในการเรียนการสอนแบบใหม่ที่นิยมใช้ ซึ่งทางรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ด้วยกัน รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ดังนั้นทางหลักสูตรจึงนำสะเตมศึกษามาใช้ในการสร้างหุ่นยนต์เบื้องต้น ซึ่งเป็นการต่อยอดหลักสูตร โดยบูรณาการการเรียนการสอน นำเทคโนโลยีเข้ามา โดยการสร้างหุ่นยนต์มาประกอบเป็นสิ่งประดิษฐ์ ในการประกอบหุ่นยนต์นั้นต้องเขียนโปรแกรมทางคณิตศาสตร์ ทางอิเล็กทรอนิกส์ เพราะถ้านักศึกษาเขียนโปรแกรมอย่างเดียวก็จะไม่เห็นภาพ แต่ถ้ามีผลงานเป็นชิ้นงาน นักศึกษาจะมีแรงจูงใจในนำผลงานที่เป็นหุ่นยนต์ของตนเอง สำหรับหุ่นยนต์ที่ผลิตจะเป็นหุ่นยนต์ควบคุมแบบการแข่งขันเตะฟุตบอล ซึ่งใช้โปรแกรมควบคุม

           ประธานหลักสูตรคอมพิวเตอร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จุดเริ่มต้นจากการทำโครงการหุ่นยนต์ เริ่มจากโครงการ SMP รับผิดชอบโดย ดร.ศิริชัย นามบุรี รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดครั้งแรกเป็นค่ายให้กับกลุ่มนักเรียนที่อยู่ในโครงการ SMP ของมหาวิทยาลัย 6 โรงเรียน ครั้งที่ 2 ได้เสนอไปทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ และขยายรับนักเรียนร่วมกิจกรรมจากพื้นที่ 3 จชต. ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับหุ่นยนต์ที่หลักสูตรเลือกใช้ในการเรียนการสอน ชื่อว่า อาดูโน่ (Arduino)  มีข้อดี คือราคาถูกกว่ารุ่นอื่นๆ ตัวใช้งานที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยฯ คือ เลโก้ (LEGO) ราคาหลักหมื่น ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กโต สามารถประกอบเอง ลักษณะเป็นวัสดุ เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์  สายพาน มาประกอบเป็นชุดหุ่นยนต์ ลักษณะการใช้งานเป็นก้านควบคุม (Joystick) หลังจากเข้าอบรมนักเรียนต้องเขียนโปรแกรมเอง ควบคุมการเดินของตัวรถได้ ซึ่งจะมีการค่ากำหนดความเร็ว และต้องมีความคิดสร้างสรรค์ ถือว่าการจัดค่ายดังกล่าวเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กให้สนใจเรียนคอมพิวเตอร์ ส่วนอนาคตตั้งเป้าเรื่องการขยายเวลาการจัดค่าย และการสนับสนุนอุปกรณ์ การเพิ่ม option ลูกเล่น เพื่อให้สามารถทำงานได้มากขึ้น ปัจจุบันทางหลักสูตรมีหุ่นยนต์ประมาณ 20 ตัว สามารถใช้งาน 2 คน ต่อ 1 ตัว คาดว่าจะเพิ่มเป็น 40 ตัว เพื่อรองรับการใช้งาน 1 ตัวต่อ 1 คน และเพิ่ม Sensor นอกจากนี้ทางอาจารย์ร่วมกับนักศึกษาตั้งเป้าในการทำวิจัยในพื้นที่ สามารถนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน อาจเริ่มต้นจากหุ่นยนต์ควบคุมสิ่งกีดขวาง  หุ่นยนต์ SMART FARM  จากการทำค่ายที่ผ่านมา พบว่า โครงการหุ่นยนต์ถือเป็นจุดขายให้กับคณะวิทยาศาสตร์ฯ  ที่ผ่านมามีการบูรณาการหลายศาสตร์ อนาคตอาจนำหลักสูตรฟิสิกส์ คณิตศาสตร์นำมาบูรณาการจัดทำค่ายร่วมกัน เพื่อจัดทำงานวิจัยที่เป็นประโยชน์กับพื้นที่มากที่สุด สำหรับโรงเรียนที่สนใจ ทางหลักสูตรวางแผนด้านการให้บริการวิชาการให้กับครู ปัจจุบันเรามีโครงการคูปองครู ซึ่งได้พูดคุยในหลักสูตรในรูปแบบจัดอบรมให้กับครูสายคอมพิวเตอร์  สำหรับผู้ที่สนใจดูรายละเอียดได้ที่ http://science.yru.ac.th/computer/ หรือ โทรศัพท์ 073 -299699 ต่อ 74100

Ref : http://songkhlatoday.com/paper/116456

    : http://www.paaktai.com/news/detail/1147

 

แกลเลอรี่