โครงสร้างหลักสูตร
04 ต.ค. 2559 22:16 | โดย ผู้ดูแลระบบ | อ่าน 1368 ครั้ง
ชื่อหลักสูตร : หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ฉบับปรับปรุ่ง พ.ศ.2560
หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารฉบับนี้ ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร พ.ศ.2555 เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในปี 2560 - 2564 ต่อไป ซึ่งการจัดทำหลักสูตรครั้งนี้ได้ดำเนินการตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 และประกาศของคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ กระบวนการปรับปรุงหลักสูตรฉบับนี้ได้ผ่านการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้หลักสูตรมีความสมบูรณ์ รวมทั้งให้สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เพื่อช่วยให้สามารถใช้หลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตบัณฑิตได้อย่างมีคุณภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในอุตสาหกรรมอาหารทุกระดับ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคมและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
โครงสร้างหลักสูตร:
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
|
ไม่น้อยกว่า
|
30
|
หน่วยกิต
|
กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร
|
ไม่น้อยกว่า
|
12
|
หน่วยกิต
|
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์
|
|
6
|
หน่วยกิต
|
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์
|
|
6
|
หน่วยกิต
|
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|
6
|
หน่วยกิต
|
หมวดวิชาเฉพาะ
|
ไม่น้อยกว่า
|
90
|
หน่วยกิต
|
กลุ่มวิชาแกน
|
|
15
|
หน่วยกิต
|
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน
|
ไม่น้อยกว่า
|
75
|
หน่วยกิต
|
วิชาเฉพาะด้านบังคับ
|
|
64
|
หน่วยกิต
|
วิชาเฉพาะด้านเลือก
|
ไม่น้อยกว่า
|
6
|
หน่วยกิต
|
วิชาประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษาไม่น้อยกว่า
|
5
|
หน่วยกิต
|
หมวดวิชาเลือกเสรี
|
ไม่น้อยกว่า
|
6
|
หน่วยกิต
|
รายวิชาหลักสูตร: สามารถโหลดไฟล์หลักสูตรได้ที่นี้
อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังศึกษาจบ:
1. ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อุตสาหกรรมอาหารทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในหน่วยงานของรัฐ เอกชน องค์กรมูลนิธิ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักโภชนาการ นักวิชาการ นักวิจัยด้านอาหารหรือโภชนาการ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพ เป็นต้น
2. ประกอบอาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ธุรกิจ SME วิสาหกิจชุมชน และธุรกิจหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์