หลักสูตรชีววิทยาประยุกต์
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

ปีการศึกษา 2559

รายงานผลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2559

ผลการดำเนินงาน

          จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต หลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีการศึกษา 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ศึกษาปัญหา การทำงาน คุณลักษณะบางประการที่เอื้อต่อการได้งานของบัณฑิต ความสอดคล้องของคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อได้ข้อมูลใช้ประกอบการพัฒนาการผลิตบัณฑิต บัณฑิตหลักสูตรชีววิทยา ปีการศึกษา 2558 พบว่า มีผู้สำเร็จการศึกษา ทั้งสิ้น 34 คน และเมื่อนำเข้าระบบภาวะการมีงานทำ ผ่านเว็บไซต์ http://www.job.mua.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และเอกสาร โดยได้ข้อมูลการตอบแบบสอบถาม ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2560 จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 79.41

           จากผลการวิเคราะห์ของระบบภาวะการมีงานทำพบว่า มีบัณฑิตที่ทำงานแล้ว 10 คน คิดเป็นร้อยละ 37.04 และที่ยังไม่ได้ทำงานและมิได้ศึกษาต่อมีจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 62.96 ของผู้ตอบแบบสอบถามในระบบรายงานภาวะการมีงานทำ และเมื่อพิจารณาจากการจำแนกตามประเภทงานที่ทำพบว่า เป็นงานประเภทข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงาน จำนวน 1 คน (ร้อยละ 10.00) ส่วนที่เป็นพนักงานบริษัทหรือองค์กรธุรกิจ จำนวน 6 คน (ร้อยละ60.00) ในส่วนที่ดำเนินการธุรกิจส่วนตัว จำนวน 1 คน (ร้อยละ 10.00) ส่วนบัณฑิตที่ทำงานแล้วแต่ไม่ระบุประเภทงานที่ทำ จำนวน 2 คน (ร้อยละ 20.00) เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาในการหางานทำพบว่า บัณฑิตที่ได้งานทำก่อนสำเร็จการศึกษา จำนวน 3 คน (ร้อยละ 30.00) ภายในระยะเวลา 1-3 เดือน จำนวน 2 คน (ร้อยละ 20.00) ภายในระยะเวลา 4 - 6 เดือนจำนวน 3 คน (ร้อยละ 33.33) ภายในระยะเวลา 7-9 เดือน จำนวน 2 คน (ร้อยละ 20.00) และมากกว่า 1 ปี ยังไม่มีข้อมูล ความสามารถที่ทำให้บัณฑิตได้งานทำมากที่สุด คือ ทักษะทางปัญญา บัณฑิตส่วนใหญ่สามารถนำความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับหน้าที่การงานที่ทำอยู่ในระดับมาก และนอกเหนือจากนั้นแล้วการที่บัณฑิตได้งานทำยังใช้ความสามารถพิเศษอื่นประกอบจึงทำให้ได้งานทำได้แก่ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ จำนวน 6คน (ร้อยละ 60.00) ด้านกีฬา จำนวน 2 คน (ร้อยละ 20.00) ด้านกิจกรรมสันทนาการ จำนวน 1 คน (ร้อยละ 10.00) และด้านภาษาต่างประเทศ จำนวน 1 คน (ร้อยละ 10.00) ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายชื่อวิชาที่ควรเพิ่มในหลักสูตร คือด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน การใช้คอมพิวเตอร์ การวิจัยและการฝึกปฏิบัติการ เป็นต้น

การวิเคราะห์ผลที่ได้

ตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำของบัณฑิตที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี 3 ปีย้อนหลัง และสามารถสรุปเป็นตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำดังนี้

 

ข้อมูลพื้นฐาน

ร้อยละ

ปี 2555

(n=38)

ปี 2556

(n=43)

ปี 2557

(n=31)

ปี 2558

(n=34)

จำนวนบัณฑิตทั้งหมด

38

43

31

34

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ตอบแบบสำรวจเรื่องการมีงานทำภายใน 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษา

42.11

74.42

93.55

79.41

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำภายใน 1 ปีหลังสำเร็จการศึกษา (ไม่นับรวมผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ)

43.75

 

100

70

6 (22.22)

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ประกอบอาชีพอิสระ

-

3.12

6.25

1 (3.70)

จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีงานทำก่อนสำเร็จการศึกษา

-

-

-

3 (11.11)

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา

-

-

-

-

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่อุปสมบท

-

-

-

 

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่เกณฑ์ทหาร

-

-

-

 

จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว

-

-

-

 

หมายเหตุ n = จำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาในแต่ละปีการศึกษา
 

อ้างอิง

          รายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report : SAR) และรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร (มคอ.7) หลักสูตรชีววิทยา พ.ศ. 2555 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีการศึกษา 2559 (ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2559 - วันที่ 31 กรกฎาคม 2560)