หลักสูตรปรด. สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

ฐานข้อมูลทางชีวภาพ จากงานวิจัย เรื่อง การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพท่ามกลาง ภูมิปัญญาท้องถิ่นของพื้นที่ลุ่มน้ำ และชายฝั่งปัตตานี

ฐานข้อมูลทางชีวภาพ จากงานวิจัย เรื่อง การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพท่ามกลางภูมิปัญญาท้องถิ่นของพื้นที่ลุ่มน้ำ และชายฝั่งปัตตานี

การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของลุ่มน้ำและชายฝั่งปัตตานี

ผลศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของลุ่มน้ำและชายฝั่งปัตตานี ในสถานี 18 สถานี สถานีในบริเวณพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำปัตตานี ประกอบด้วยสถานีต่าง ๆ ดังนี้ 1. หมู่บ้านจุฬาภรณ์ 7 , 9 เป็นพื้นที่ระบบภูเขานิเวศ 2. บ้านจันทรัต อำเภอ เบตง เป็นพื้นที่ระบบนิเวศภูเขา 3. บ้านสันตินิมิต 2 เป็นพื้นที่ระบบนิเวศป่าไม้ 4. บ้านสันตินิมิต 1 เป็นพื้นที่ระบบนิเวศป่าไม้ 5. บริเวณตลาดคอกช้าง เป็นพื้นที่ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน 6. ชุมชนตลาดเก่าเทศบาลบันนังสตา เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร สถานีในบริเวณพื้นที่ตอนกลางของลุ่มน้ำปัตตานี ประกอบด้วยสถานีต่าง ๆ ดังนี้  1. ชุมชนตำบลสะเอะ เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร 2. ชุมชนตำบลตะลิ่งชัน (บ้านติปิงตีงี) เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร 3. ชุมชนอำเภอ กรงปีนัง เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร 4. บ้านปงกายี เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร 5. บ้านสะเตงนอก เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร 6. ชุมชนมุสลิมสัมพันธ์ เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร และสถานีในบริเวณพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำปัตตานี ประกอบด้วยสถานีต่าง ๆ ดังนี้ 1. ชุมชนจารูพัฒนา เป็นพื้นที่ระบบนิเวศแหล่งน้ำในแผ่นดิน 2. ชุมชนตลาดเก่า จ.ยะลา เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตรและระบบนิเวศเมือง 3. ตำบลตาเซะ จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ระบบนิเวศเกษตร 4. บ้านปะกาฮารัง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ระบบนิเวศชายฝั่ง 5. บ้านตันหยงและป่าชายเลน อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ระบบนิเวศชายฝั่งและระบบนิเวศป่าชายเลน  6. บ้านปากน้ำ จ.ปัตตานี เป็นพื้นที่ระบบนิเวศชายฝั่งและระบบนิเวศเมือง ได้ปรากฏดังรายละเอียดแยกตามสถานีการเก็บตัวอย่าง

ไฟล์แนบ

ดาวน์โหลด