หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาฟิสิกส์อุตสาหกรรม

รายงานผลภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 25ุ60

รายงานผลภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 25ุ5>>Click

ผลการดำเนินงาน

            จากการเก็บรวบรวมข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต หลักสูตรฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีการศึกษา 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา ศึกษาปัญหา การทำงาน คุณลักษณะบางประการที่เอื้อต่อการได้งานของบัณฑิต ความสอดคล้องของคุณลักษณะของบัณฑิต เพื่อได้ข้อมูลใช้ประกอบการพัฒนาการผลิตบัณฑิต บัณฑิตหลักสูตรฟิสิกส์  ปีการศึกษา 2559 พบว่า มีผู้สำเร็จการศึกษา ทั้งสิ้น 31 คน และเมื่อนำเข้าระบบภาวะการมีงานทำ ผ่านเว็บไซต์ http://www.job.mua.go.th ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และเอกสาร โดยได้ข้อมูลการตอบแบบสอบถาม ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2560 จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 84.61

            จากผลการวิเคราะห์ของระบบภาวะการมีงานทำพบว่า มีบัณฑิตที่ทำงานแล้ว 18 คน คิดเป็นร้อยละ 57.17 และที่ยังไม่ได้ทำงานและมิได้ศึกษาต่อมีจำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 44.83 ของผู้ตอบแบบสอบถามในระบบรายงานภาวะการมีงานทำ และเมื่อพิจารณาจากการจำแนกตามประเภทงานที่ทำพบว่า เป็นงานประเภทข้าราชการ/เจ้าหน้าที่หน่วยงาน ส่วนที่เป็นพนักงานบริษัทหรือองค์กรธุรกิจ ลูกจ้างร้อยละ 62.5 (10 คน) ในส่วนที่ดำเนินการธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 6.25 (1 คน) ส่วนบัณฑิตที่ทำงานแล้วแต่ไม่ระบุประเภทงานที่ทำ ร้อยละ 18.75 (3 คน) เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาในการหางานทำพบว่า บัณฑิตที่ได้งานทำก่อนสำเร็จการศึกษาจำนวน 1 คน (ร้อยละ 6.25) ภายในระยะเวลา 1-3 เดือน จำนวน 8 คน (ร้อยละ 50)ภายในระยะเวลา 4-6 เดือนจำนวน 4 คน (ร้อยละ 25) ภายในระยะเวลา 7-9 เดือน จำนวน 2 คน (ร้อยละ 12.5) และมากกว่า 1 ปี จำนวน 1 คน (ร้อยละ 6.25) ความสามารถที่ทำให้บัณฑิตได้งานทำมากที่สุด คือ ทักษะทางปัญญา บัณฑิตส่วนใหญ่สามารถนำความรู้จากสาขาวิชาที่เรียนมาประยุกต์ใช้กับหน้าที่การงานที่ทำอยู่ในระดับมาก และนอกเหนือจากนั้นแล้วการที่บัณฑิตได้งานทำยังใช้ความสามารถพิเศษอื่นประกอบจึงทำให้ได้งานทำได้แก่ ด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้านกิจกรรมสันทนาการ และ ด้านภาษาต่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 50 (8 คน), 43.75 (7 คน) และ 6.25 (1 คน) ตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายชื่อวิชาที่ควรเพิ่มในหลักสูตร คือด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน การใช้คอมพิวเตอร์ การวิจัยและการฝึกปฏิบัติการ เป็นต้น

การวิเคราะห์ผลที่ได้

            วิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงหรือแนวโน้มของการได้งานทำ โดยใช้ข้อมูลภาวะตลาดแรงงาน ภาวะเศรษฐกิจ และการเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ผ่านมาและสถาบันอื่นที่เปิดสอนสาขา/สาขาวิชาเดียวกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนา/ปรับปรุงหลักสูตร

            ผลจากตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำซึ่งสะท้อนให้เห็นการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณ พบว่า จำนวนบัณฑิตที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากปีการศึกษา 2555 แสดงให้เห็นว่า บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรชีววิทยาเป็นที่ยอมรับเพิ่มมากขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการกำกับดูแลให้หลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กรมการจัดหางานรายงานสถิติอัตราการว่างงานปี พ.ศ. 2556–2559  พบว่า อัตราการว่างงานจะสูงที่สุดและปรับตัวลดลงต่ำสุดในช่วงปลายปีเฉลี่ยทั้งปีตั้งแต่ ปี 2556, 2557 และ 2558 พบว่าเปอร์เซ็นต์การว่างงาน เท่ากับ 0.7, 0.8 และ 0.9 ตามลำดับ สอดคล้องกับสถิติผู้ถูกเลิกจ้างเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.42 ในปี 2559 ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากนายจ้างต้องการลดจำนวนพนักงานร้อยละ 40.50 ด้วยภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างล่าช้า การท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ และปัจจัยด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองดังนั้นจึงอาจมีผลทำให้ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำลดลงจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 ด้วยเหตุนี้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของหลักสูตร ในปีการศึกษา 2560 จึงควรมีการเสริมสร้างความแข็งแรงทางวิชาการที่สามารถแข่งขันการบัณฑิตที่จบจากสถาบันอื่น รวมทั้งเสริมทักษะอาชีพทางเลือกแก่นักศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีงานทำของบัณฑิตที่จบจากหลักสูตร

            ตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำของบัณฑิตที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี 3ปีย้อนหลัง และสามารถสรุปเป็นตารางวิเคราะห์แนวโน้มของการได้งานทำดังนี้