คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

นักศึกษาคณะวิทย์ฯ มรย. คว้า 9 รางวัล การนำเสนอผลงานวิจัย งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2565 (NSCIC 2022)

เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2565 นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2565 (The 7th Nation Science and Technology Conference : NSCIC 2022) จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผ่านระบบออนไลน์ โดยสามารถคว้ารางวัลในการนำเสนอ ดังนี้

  • นายนุรสรินทร์ การีจิ นักศึกษาหลักสูตรคณิตศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลิลลา อดุลยศาสน์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ แซ่หลี ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทบรรยาย ด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากผลงานวิจัย "การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับการเรียนรู้แบบความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายใต้การเรียนรู้บนฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)"
  • นายอานัส สามอ นางสาวซุรียาณี อาบูวะ และนางสาวนูรุลฮาซานะห์ บุญมาเลิศ นักศึกษาหลักสูตรการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.รูฮัยซา ดือราแม และผู้ช่วยศาสตราจารย์โรสลีนา อนันตนุกูลวงศ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทบรรยาย ด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากผลงานวิจัย "การส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยบทเรียนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Glide app เรื่อง ระบบนิเวศและประชากร ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19"
  • นายซูไฮมี สาเเม ว่าที่ ร.ต.หญิง ชัญญานุช แย้มไสว และนางสาวซาวียะห์ สาเหาะ นักศึกษาหลักสูตรการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.รูฮัยซา ดือราแม และผู้ช่วยศาสตราจารย์โรสลีนา อนันตนุกูลวงศ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทบรรยาย ด้านการศึกษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จากผลงานวิจัย "การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาดาราศาสตร์โลกและอวกาศ เรื่อง การเกิดเมฆ ด้วยบทเรียนเอ็มเลิร์นนิง (M-Learning) บนโทรศัพท์มือถือร่วมกับเทคนิคการสอนแบบทำนาย-สังเกต-อภิปราย (POE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา"
  • นายนูรมัน เจะซอ นักศึกษาหลักสูตรเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.นิราณี  บือราเฮง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทบรรยาย ด้านเกษตรศาสตร์/ประมง จากผลงานวิจัย "ผลของแสงสีแดงและแสงสีน้ำเงินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของต้นอ่อนกระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa L.)"
  • นางสาวมัรญานี เหมโคกน้อย นักศึกษาหลักสูตรสัตวศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารุณี หนูละออง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทบรรยาย ด้านเกษตรศาสตร์/ประมง จากผลงานวิจัย "รูปแบบการเลี้ยงและผลตอบแทนจากการเลี้ยงไก่สวยงามพันธ์เมือง : กรณีศึกษากลุ่มอนุรักษ์ไก่สวยงามชายแดนใต้"
  • นางสาวมารีนา ปาเซเลาะ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.นฤมล ทองมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ซันวานี จิใจ อาจารย์ ดร.เมธิยา หมวดฉิม และอาจารย์ ดร.รอมสัน หมาดมานัง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทบรรยาย ด้านนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เทคโนโลยี และงานสร้างสรรค์ จากผลงาน "การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากเศษไม้เหลือใช้ร่วมกับกากกาแฟ"
  • นางสาวโซเฟีย นิตา นักศึกษาหลักสูตรจุลชีววิทยา พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์นุรอัยนี หะยียูโซะ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ประเภทโปสเตอร์ ด้านคณิตศาสตร์/วิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากผลงานวิจัย "การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากปลาส้มในพื้นที่จังหวัดยะลา"
  • นายฟาอีฟ หะยีหมัด นักศึกษาหลักสูตรสัตวศาสตร์ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์บุคอรี มะตูแก ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทโปสเตอร์ ด้านเกษตรศาสตร์/ประมง จากผลงานวิจัย "ผลการเสริมสมุนไพรในอาหารต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและน้ำหนักซากของนกกระทาญี่ปุ่น"
  • นายยูซรี ดาโอะ และนางสาวอารีซา สาและ นักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ พร้อมด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์พิมลพรรณ ลีลาภัทรพันธุ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทโปสเตอร์ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และมัลติมีเดีย จากผลงานวิจัย "ระบบการจัดการร้านเฟอร์นิเจอร์ กรณีศึกษา ร้านวานิเฟอร์นิเจอร์"

แกลเลอรี่