มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร

ประวัติความเป็นมา

       การพัฒนาครูทางด้านการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ เป็นสาขาวิชา ที่นักวิชาการส่วนใหญ่ให้ความสนใจอย่างมากในยุคปัจจุบัน (ธนิกา วศินยานุวัฒน์ และคณะ, 2561) เนื่องจากปัจจุบันการเรียนการสอนต้องบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดคำนวณ ทางคณิตศาสตร์และการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อให้การเรียนการสอนนั้นสอดคล้องกับการเรียนรู้ ในศตวรรคที่ 21 ที่ส่งเสริมให้มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation) ที่ ประกอบด้วย 1) ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and innovation) 2) ทักษะความคิด เชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (Critical thinking and problem solving) 3) การสื่อสารและการ รวมกลุ่ม (Communication and collection) และ4) ความร่วมมือ (Collaboration) และที่สำคัญ ต้องมีทักษะทางด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information media and technology skills) เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน (อดุลย์ วังศรีคูณ, 2557) นอกจากนี้เพื่อเตรียมผู้สอนให้สามารถเข้า กับยุค Thailand 4.0 ซึ่งขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยี ความคิด สร้างสรรค์ และนวัตกรรม ไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เน้นภาคการผลิตไปสู่ภาคบริการมากขึ้น และการได้รับการพัฒนา ทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตไปด้วย (พาสนา จุลรัตน, 2561) ซึ่งในปัจจุบันการจัดการเรียนการสอน ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ในเขตพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่มี การเปิดสอนในระดับมหาบัณฑิตในหลักสูตรดังกล่าว (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2558) จึงทำให้ผู้สอน ไม่ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง และต้องหาแหล่งข้อมูลในการที่จะพัฒนาตนเองให้ทันกับยุคศตวรรษที่ 21 และยุค Thailand 4.0 ซึ่งต้องใช้เวลาในการค้นคว้าความรู้ด้วยตนเองเพื่อที่จะพัฒนาการเรียนการ สอนให้มีระดับที่สูงขึ้น จากปัญหาการขาดหลักสูตรในระดับมหาบัณฑิตที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และ คอมพิวเตอร์ทางคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงได้เห็น ความสำคัญในการเปิดหลักสูตรทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษาเพื่อปรับระดับความรู้ของตนเองให้ทันกับความก้าวหน้าของประเทศในยุคปัจจุบัน อีกทั้ง ยังส่งเสริมให้ผู้สอนที่ยังไม่มีวุฒิทางด้านวิชาชีพครู ได้รับวุฒิวิชาชีพครูควบคู่หลังจากสำเร็จการศึกษา ในระดับปริญญาโท เพื่อนำไปประกอบอาชีพที่ดีขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ด้วยความพร้อมและศักยภาพในด้านบุคลากร ด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ดังนั้นคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและ การเกษตร จึงมีโอกาสเป็นไปได้ในการที่จะเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ซึ่งนับเป็นสาขาวิชาที่ น่าสนใจอย่างยิ่ง เพราะสามารถเปิดโอกาสให้กับผู้เรียนได้มีทางเลือกในการศึกษาต่อทางด้าน วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งสาขาวิชาดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนา บุคลากรทางด้านการศึกษา เนื่องจากวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์หนึ่ง ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในแวดวงการศึกษาและการจัดการเรียนการสอน และเหมาะกับ ตลาดแรงงานในท้องถิ่นของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนา

     คุณภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของแผนพัฒนาการศึกษา จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2557-2558 (กระทรวงศึกษาธิการ, 2556) และสอดคล้องตามแผนกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2555-2559 ในการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและนโยบายการศึกษา ในการสร้างโอกาสและทางเลือกทางการศึกษาให้ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สามารถเข้าถึงบริการการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอด ชีวิต (มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 2555) ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และยุทธศาสตร์ของ ประเทศ สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการเกษตร จึงได้สร้างหลักสูตรนี้ขึ้นมาและเป็นไปตามมาตรฐานทางวิชาการและนโยบายการ ปฏิรูปการศึกษาของไทยตามความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 และปรัชญาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาราชภัฏยะลา โดยมีทั้ง หลักสูตรแผน ก แบบ ก 1 และแผน ก แบบ ก 2 เพื่อให้เป็นไปตามหลักการและเกณฑ์มาตรฐานของ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและสภาวิชาชีพครู