หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเคมีประยุกต์

ประวัติความเป็นมา

โรงเรียนฝึกหัดครู (พ.ศ. 2447 -2505)

          1 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 เริ่มก่อตั้งเป็นโรงเรียนอาชีพประจำจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู ที่หมู่บ้านมลายูบางกอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเป็นผู้ตั้ง ใช้เงินศึกษาพลี (เงินศึกษาพลี เป็นเงินที่รัฐเก็บจากชายไทยอายุ 18-60 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา) เป็นค่าก่อสร้างสถานที่เป็นเงิน 2,000 บาท ดำรงโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาพุทธศักราช 2464 เปิดสอนในระดับสอนชั้นประถมปีที่ 4 และประโยคประถมบริบูรณ์ คือชั้นประถมปีที่ 6 ในสมัยนั้น

          17 พฤษภาคม 2478 ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ข้างวัดพุทธภูมิ คือ ส่วนของบริเวณที่เป็นโรงเรียนคณะราษฎรบำรุงจังหวัดยะลาในปัจจุบันนี้ การย้ายโรงเรียนครั้งนี้ ด้วยสาเหตุ คือ ที่ตั้งโรงเรียนเดิม คือที่มลายูบางกอกเป็นเนินสูง ไม่เหมาะแก่การฝึกหัดภาคปฏิบัติ คือการทำสวนปลูกผักในสมัยนั้น ซึ่งมีพระภูมิพิชัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด

          พ.ศ. 2477 จัดตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นต้นปีที่ 1-2

          พ.ศ. 2478 จัดเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตร 2 ชั้น คือ ชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 นักเรียนสอบไล่ได้ ป.5 เป็นนักเรียนปีที่ 1 นักเรียนที่สอบไล่ได้ ป. 6 เป็นนักเรียนปีที่ 2 และมี ประถม เกษตรกรรมปีที่ 1,2 รวมอยู่ด้วย

          22 สิงหาคม 2480 ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่โรงเรียนอนุบาลซึ่งได้ปลูกสร้างสถานที่ขึ้นใหม่ (โรงเรียนอนุบาลสมัยนั้นอยู่บริเวณที่ตั้งของวิทยาลัยเทคนิคยะลาในปัจจุบัน)

          วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2481 โอนชั้นประถมเกษตรกรรมไปขึ้นกับเทศบาลเมืองยะลายังคงเหลือแต่ชั้นฝึกหัดครู ปีการศึกษา 2482 ไม่มีนักศึกษามาสมัครเรียนเลย โรงเรียนต้องปิดตลอดปีการศึกษา 2482 วันที่ 17 พฤษภาคม 2483 เริ่มเปิดทำการสอนใหม่เป็นมัธยมพิเศษ เริ่มสอนปีที่ 1 แล้วปีต่อมาคือปี พ.ศ. 2484 ขยายถึงชั้นปีที่ 3

          พ.ศ. 2486 เปลี่ยนเรียกชื่อ ม.1-2-3 พิเศษ เป็นชั้นฝึกหัดครูประชาบาล (ป.ป.)ปีที่ 1-2-3 วันที่ 15 ธันวาคม 2486 ย้ายโรงเรียนไปตั้งที่สะเตง ที่ตั้งศาลากลางจังหวัดเดิม โดยกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงคมนาคม โอนเงินชดใช้ 10,000 บาท ให้แก่แผนกมหาดไทย ทางแผนกมหาดไทยโอนกรรมสิทธิ์อาคารต่าง ๆ ให้แก่โรงเรียนฝึกหัดครู คือ

          1. ที่ทำการอำเภอเมืองยะลา 1 หลัง

          2. ศาลากลางจังหวัด 1 หลัง (หอธรรมศักดิ์มนตรี)

          3. ที่ทำการแผนกศึกษาธิการ 1 หลัง

          4. สโมสรเสือป่า 1 หลัง

          5. จวนข้าหลวงประจำจังหวัด 1 หลัง

          6. ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 หลัง

          พ.ศ. 2493 เปิดชั้นฝึกหัดครูมูล รับนักเรียนที่สอบไล่ได้ ม.6 เข้าเรียนตามหลักสูตร 1 ปี และยุบเลิกชั้น ป.ป. ปีที่ 1

          พ.ศ. 2494 เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดปีที่ 1 ยุบเลิกชั้น ป.ป. ปีที่ 2

          พ.ศ. 2498 ยุบเลิกชั้นประถมประโยคครูมูล เปิดชั้นฝึกหัดครูประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาปีที่ 1 ยุบเลิกชั้น ว. ปีที่ 1

          พ.ศ. 2499 เปิดชั้นประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาปีที่ 2 ยุบเลิกชั้นประโยคครูมูลและเปิดสอนชั้นประกาศนียบัตรวิชาการเรื่อยมา

          พ.ศ. 2504 โรงเรียนฝึกหัดครูยะลา ได้ย้ายมาจากศาลากลางเก่าที่สะเตง มาอยู่ที่ปัจจุบันได้ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง หอนอน 1 หลัง และโรงอาหารชั่วคราว 1 หลัง และยังใช้สถานที่เดิมอยู่ด้วยเพราะสถานที่สร้างใหม่ไม่เพียงพอ ที่สถานที่ปัจจุบันนี้ ฯ พณฯ ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดแผนผังของสถาบันราชภัฏไว้ไห้ ตั้งแต่เมื่อแรกที่ได้ที่ดินมาดำเนินการก่อสร้าง

....         พ.ศ. 2547 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 19 รับนักศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 3 และเปิดสอนหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 1

            พ.ศ. 2548 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 20 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2548

            พ.ศ. 2549 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 21 รับนักศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา รุ่นที่ 4 และนักศึกษาหลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 2

            พ.ศ. 2550 รับนักศึกษาภาคปกติ นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 22 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2550

            พ.ศ. 2551 รับนักศึกษาภาคปกติ เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551 นักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 23 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2551

            พ.ศ. 2552 รับนักศึกษาภาคปกติ เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2552 รับนักศึกษา นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา รุ่นที่ 3 และเปิดสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

            พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักศึกษาภาคปกติและภาคพิเศษ ในระดับปริญญาตรี ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และระดับปริญญาโท รวมทั้งสิ้น 39 หลักสูตร แบ่งเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี 26 หลักสูตร ปริญญาตรี 5 ปี 6 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิต 2 หลักสูตร และปริญญาโท 5 หลักสูตร และมีจำนวนนักศึกษาทุกระดับ ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษทั้งหมด 7,600 คน จำแนกเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์ 2,590 คน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 1,424 คน คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร 2,187 คน และคณะวิทยาการจัดการ 1,399 คน 

            พ.ศ. 2554 ทุกหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรใหม่หรือปรับปรุงหลักสูตรเดิมที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีในทุกหลักสูตรให้เข้าตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับใช้จัดการศึกษาใน  ปีการศึกษา 2555 ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

            พ.ศ. 2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรใหม่เพื่อรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2555 ในระดับปริญญาตรี จำนวน 26 หลักสูตร จากทั้ง 4 คณะ คือคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร คณะวิทยาการจัดการ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยแยกเป็น

            - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ได้แก่ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีววิทยา เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ

            - หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ได้แก่ สาขาวิชาภาษาจีน ภาษาไทย ภาษามลายู การพัฒนาชุมชน ภาษาอังกฤษ

            - หลักสูตรศิลปบัณฑิต (ศ.บ.) ได้แก่ สาขาออกแบบนวัตกรรมทัศนศิลป์

            - หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) ได้แก่ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ การจัดการทั่วไป การตลาด การบัญชี

            - หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ได้แก่ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา การศึกษาปฐมวัย

            สำหรับในปีการศึกษา 2555 นี้ เป็นปีที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เข้าตรวจประเมินคุณภาพศึกษาของมหาวิทยาลัยและคณะ รอบ 3 ระหว่างวันที่ 12-14 มีนาคม 2555 และมหาวิทยาลัยและทุกคณะได้รับการรับรองคุณภาพ

            พ.ศ. 2556  รับสมัครนักศึกษาภาคปกติ เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคการเรียนที่ 1/2556 และรับนักศึกษา กศ.บป. รุ่นที่ 27 เข้าศึกษาตั้งแต่ภาคการเรียนที่ 1/2556 และเปิดสอนระดับปริญญาเอก  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และระดับปริญญาตรี  หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา  สาขาวิชาพลศึกษาและ สุขศึกษา และสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  สาขาวิชา การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว  และสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ 

            พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารเป็นการบริหารเชิงรุก ภายใต้การสร้างภาพลักษณ์องค์กรสู่ “มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ (University of WISDOM Bank)” ภายใต้การนำของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดี และทีมคณะผู้บริหารซึ่งมีวาระ 4 ปี โดยได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม 2556 เป็นต้นมา มีเป้าหมายเพื่อเปิดมหาวิทยาลัยต้อนรับชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมให้เป็น "สถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น" อย่างแท้จริงต่อไป กิจกรรมสำคัญที่เกิดขึ้นในปีการศึกษา 2557 ได้แก่ การขยายการศึกษาเปิดรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 ของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา